แพะฐานบัวหลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก
ขายแล้ว
25000
แพะฐานบัว หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก จ.ระยอง
เครื่องรางโด่งดัง “แพะ” หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกะบอก
ตามตำราการสร้างกล่าวไว้ว่าแพะนั้นมีคุณสมบัติ 2 อย่างคือ ความอดทน เพราะแพะเป็นสัตว์ที่ตายยาก มีความอดทนสูง (คงกระพัน) และความมีเสน่ห์ เพราะแพะเป็นสัตว์ที่มีเสน่ห์แรง ตัวผู้หนึ่งตัวนั้นจะมีตัวเมียอยู่ด้วยเป็นฝูง (เมตตามหานิยม)
ตัวนี้เป็นศิลป์พิเศษที่สุด ฐานแกะแบบบัวฟันปลา
ประวัติ “หลวงพ่ออ่ำ เกสโร” วัดหนองกะบอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง
พระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งแห่งภาคตะวันออก มีลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังต่อมา คือ หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกระเฌอ จ.ชลบุรี, หลวงพ่อลัด วัดหนองกะบอก จ.ระยอง ฯลฯ
สมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ สร้างเครื่องรางของขลังรูปแพะจนมีชื่อเสียง ซึ่งได้สืบทอดวิชาต่อจากหลวงปู่แตง วัดอ่างศิลา จนเป็นที่ต้องการของบรรดานักนิยมสะสมเครื่องรางของขลัง
แพะหลวงพ่ออ่ำ สร้างจากเขาควายฟ้าผ่าตาย ซึ่งมีความเชื่อกันว่าได้รับพลังจากเทพ แล้วนำมาแกะเป็นแพะ บรรจุวิทยาคม โดยวางไว้บนถาด บางครั้งก็แช่น้ำมันหอม น้ำมันว่านสมุนไพร น้ำมันจันทน์
ครั้นจะมอบให้ จะทำพิธีปลุกเสกอีกครั้ง
จากตำราสมุดข่อยที่คณาจารย์โบราณได้จารึกว่า การสร้างแพะโดยใช้เขาควายและเขาควายเผือกที่ถูกฟ้าผ่าตาย เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าเขานั้นจะได้รับพลังจากเทพ คือ สวรรค์ทุกชั้น ทุกวิมาน
นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อว่าในตัวแพะที่โดนฟ้าผ่าตายนั้นได้พลีจากสรวงสวรรค์อีกด้วย พระเกจิอาจารย์หลายสำนักจึงได้นำมาเป็นวัสดุในการแกะเป็นรูปลักษณ์ของแพะ
ว่ากันว่าผู้ที่มีแพะหลวงพ่ออ่ำ ไว้ในความครอบครอง จะเป็นผู้ที่มั่งคั่งสมบูรณ์เมตตามหานิยม ค้าขายเจริญรุ่งเรือง และอายุยืน
มีนามเดิม อ่ำ คงจำรูญ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 29 เมษายน 2408 ที่บ้านหนองสะพาน ต.หนองตะพาน อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ครอบครัวประกอบอาชีพการเกษตรกรรม
ในวัยเด็กชอบฟังเทศน์ ติดตามบิดา-มารดาเข้าวัดเป็นประจำ เมื่อเติบโตขึ้นมีความสนใจในเรื่องการสวดมนต์และฟังเทศน์ แสดงความสนใจในการอุปสมบท โดยมักสอบถามว่าการจะเป็นพระสงฆ์นั้นทำอย่างไร
มักปรารภกับพี่น้องในครอบครัวเดียวกันว่า “หากข้ามีอายุครบบวชเมื่อใดข้าจะบวชๆ แล้วจะไม่สึกจนตายอยู่ในผ้าเหลืองนั่นแหละ”
อายุ 21 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดทับมา ต.ทับมา อ.เมือง จ.ระยอง มีหลวงปู่ขาว วัดทับมา เป็นพระอุปัชฌาย์ และหลวงพ่อวงศ์ วัดบ้านค่าย เป็นพระคู่สวด มีนามฉายาว่า “เกสโร”
จำพรรษาอยู่ที่วัดหนองกะบอก ก่อนเดินทางออกไปเรียนวิทยาคมกับพระอาจารย์ต่างๆ
ไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อปาน ที่วัดบางเหี้ย ขอเรียนวิชาสร้างเสือแกะจากเขี้ยวเสือ
แต่หลวงพ่อปานเรียกไปพบเป็นการส่วนตัวบอกว่าหลวงปู่อ่ำไร้วาสนาทางสร้างเสือมหาอำนาจ แต่ท่านจะสอนวิชาสร้างแพะ แกะจากเขาควายเผือกฟ้าผ่าตาย อันเป็นสุดยอดเครื่องรางของขลังให้แทน
ภายหลัง กลับมาที่วัดหนองกะบอก อยู่จำพรรษาจนถึงสมัยหลวงพ่อยอด เจ้าอาวาสรูปที่ 5 เริ่มงานสร้างอุโบสถวัดหนองกะบอก แต่แล้วหลวงพ่อยอดกลับมาอาพาธ จนไม่อาจปฏิบัติหน้าที่เจ้าอาวาสต่อไปได้ จึงลาสิกขาไปรักษาตัว ตำแหน่งเจ้าอาวาสจึงว่างลง คณะสงฆ์จึงประชุมชาวบ้านหนองกะบอก มีมติให้หลวงปู่อ่ำดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบแทนรับตำแหน่งเจ้าอาวาสในปี พ.ศ.2440 เป็นต้นมา
เวลานั้น อุโบสถเพิ่งเริ่มงานสร้าง เสนาสนะกุฏิสงฆ์จำพรรษาชำรุดทรุดโทรม ทุกอย่างต้องใช้เงินในการดำเนินการเป็นจำนวนมาก
หลวงปู่อ่ำจึงต้องสร้างแพะเพื่อสมนาคุณแด่ผู้สละทรัพย์ในการสร้างอุโบสถ และบูรณปฏิสังขรณ์วัดหนองกะบอก เพื่อฉลองศรัทธา ต่อมาจึงสามารถสร้างศาลาการเปรียญและโรงเรียนประชาบาล ด้วยการสร้างแพะสมณาคุณกับญาติโยมในเวลาต่อมา
เป็นพระที่พูดน้อยแบบถามคำตอบคำ ไม่โอ้อวดวิทยาคม แต่ไม่ปฏิเสธหากมีผู้มาขอความช่วยเหลือ หลวงปู่สั่งสอนให้ศิษย์ทุกคนบูชาพระอรหันต์ประจำชีวิต คือ บิดา-มารดา ให้ดีที่สุดก่อนจึงค่อยบูชาพระรัตนตรัย เพราะบิดา-มารดา เป็นพระอรหันต์ประจำชีวิตของลูกทุกคน
ด้วยศีลาจารวัตรงดงาม ครองจีวรเป็นระเบียบ ทำให้ชาวบ้านหนองกะบอกให้ความเลื่อมใสศรัทธา
ชาวบ้านใน จ.ระยอง และใกล้เคียง นิยมเรียกขานท่านว่า “หลวงปู่อ่ำ เรือเก่า” จนติดปาก แม้แต่ในภาพถ่ายประจำวัดก็ยังจารึกนามของท่านว่า “พระครูเทพสิทธิการ (หลวงปู่อ่ำ เรือเก่า)”
มีเรื่องเล่าว่า … มีสองตายายนำเรือเก่าที่ไม่ใช้แล้วมาขึ้นคานติดประกาศขายไว้หน้าบ้านในราคาที่ถูก เพียงเพื่อจะเอาเงินที่ได้มาเลี้ยงชีวิตยามแก่ เวลาผ่านไป ไม่มีใครมาแวะดูเรือเก่าของสองตายาย
สองตายายรู้สึกวิตกเป็นอย่างยิ่ง รู้สึกว่าไม่มีที่พึ่งที่ไหนอีกแล้ว วันหนึ่งเมื่อใส่บาตรหลวงปู่อ่ำเสร็จแล้ว ยายจึงยกมือพนมไหว้ บอกให้รู้ถึงความทุกข์ในใจ
“หลวงพ่ออ่ำเจ้าขา อิฉันประกาศขายเรือเก่ามาปีหนึ่งแล้วไม่มีใครใส่ใจดู เดินผ่านไปผ่านมาไปซื้อเรือใหม่กันหมด อิฉันต้องการให้หลวงพ่อช่วยให้อิฉันขายเรือเก่าลำนี้ได้ด้วยเถิดเจ้าข้า เงินที่ได้มาอิฉันกับตาจะได้เลี้ยงชีวิตจนกว่าจะตาย”
หลวงปู่อ่ำเดินไปที่เรือเก่าใช้มือลูบหัวเรือไปมาก่อนจะถอยออกมายืนบริกรรมอยู่ด้านหน้าเรือแล้วบอกกับสองตายายว่า “ในเจ็ดวันนี่แหละเรือนี้จะขายได้”
ปรากฏว่า มีผู้มาซื้อเรือที่บ้านสองตายาย ตามที่ลั่นปากไว้
นับแต่นั้นเป็นต้นมา ผู้คนต่างถวายฉายาเป็น “หลวงปู่อ่ำ เรือเก่า”
มรณภาพเมื่อวันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2495 สิริอายุ 87 ปี
👉 สามารถเข้าชมพระเครื่องของทางร้านที่เวปท่าพระจันทร์ได้ทั้ง 5 ร้าน (มังกรพระเครื่อง ร้านที่ 1-5)
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง2
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง3
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง4
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง5
👉 สามารถเข้าชมพระเครื่องของทางร้านมังกรพระเครื่องทั้งหมด ได้ที่
▶️ : https://www.dragon1amulet.com
✅ โทรศัพท์ : 081-919-5885
✅ ID Line : ฺ rsp4884
✅ Facebook : เอก สงขลา