หล่อโบราณพ่อท่านคล้าย ปี2497 ก้นอุ พิมพ์ต้อใหญ่

ขายแล้ว

องค์ที่ 1 ;
หล่อโบราณพ่อท่านคล้าย ปี2497 ก้นอุ พิมพ์ต้อใหญ่ วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช

รูปเหมือนหล่อโบราณ “พ่อท่านคล้าย” วัดสวนขัน พิมพ์ก้น “อุ” ปี2497 เป็น 1 ใน 5 ของพระชุดเบญจภาคีรูปเหมือนพระเกจิอาจารย์ยอดนิยม
อันประกอบด้วย
รูปเหมือนหล่อโบราณหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร
รูปเหมือนปั๊มและพระหล่อโบราณ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์
รูปเหมือนหล่อโบราณหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ รุ่นเลขใต้ฐาน (หรือรุ่นเบตง จ.ยะลา)
รูปเหมือนหล่อโบราณหลวงพ่อยอด วัดหนองปลาหมอ อ.หนองแค จ.สระบุรี
รูปเหมือนหล่อโบราณ “พระพ่อท่านคล้าย” วัดสวนขัน พิมพ์ก้น “อุ”

ประวัติของพ่อท่านคล้าย
เกิดในสกุล สีนิล เมื่อวันอังคารที่ 27 มีนาคม 2419 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด ที่บ้านโคกกระทือ หรือบ้านโคกทือ หมู่ 10 ต.ช้างกลาง อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช (ปัจจุบันตำบลช้างกลางอยู่ในอำเภอช้างกลาง)
ครอบครัวมีฐานะค่อนข้างดี พ่อมีความรู้เรื่องอักษรไทยและขอมเป็นอย่างดี จึงสอนเขียนอ่านบุตรชายด้วยตัวเองที่บ้าน จนมีความชำนาญ และยังได้ส่งไปเรียนคณิตศาสตร์ต่อยังสำนักของครูขำ
อายุประมาณ 14-15 ปี เดินทางไปอยู่กับพี่สาวและพี่เขยที่ ต.มะม่วงเอน อ.คลองท่อม จ.กระบี่
ต่อมาในปี 2438 เข้าพิธีบรรพชา โดยพระอธิการจัน อดีตเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดจันดี (ทุ่งปอน) ตั้งใจใฝ่เรียน ฝึกท่องพระปาฏิโมกข์จนชำนาญแคล่วคล่องแม่นยำ

ครั้นอายุครบ 20 ปี ในปี พ.ศ.2439 เข้าพิธีอุปสมบท ที่อุทกุกเขปสีมา (ศาลาน้ำ) วัดวังม่วง โดยมีพระอาจารย์กราย คังคสุวัณโณ เจ้าอาวาสวัดหาดสูง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สังข์ สิริรตโน เจ้าอาวาสวัดไม้เรียง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ทอง ปทุมสุวัณโณ เจ้าอาวาสวัดวังม่วงเป็นพระอนุสาวนาจารย์ และมีพระอาจารย์ล้อม ถิรโชโต เป็นผู้ให้สรณคมน์และศีลก่อนทำพิธีอุปสมบท ได้รับฉายาว่า จันทสุวัณโณ
หลังจากอุปสมบท อยู่จำพรรษาที่วัดจันดี ศึกษาพระธรรมวินัยและภิกขุปาฏิโมกข์จนแตกฉาน ต่อมาได้ไปศึกษาพระปริยัติธรรมกับท่านพระครูกาแก้ว (ศรี) วัดหน้าพระบรมธาตุฯ อยู่ 2 ปี ศึกษาวิทยาคมจากพระอาจารย์กราย วัดหาดสูง ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์จนแก่กล้า เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง

หลังจากนั้น พ่อท่านคล้าย เริ่มออกธุดงค์แสวงหาความวิเวกตามป่าเขาและถ้ำต่างๆ เพื่อศึกษาทางด้านปฏิบัติ นั่งสมาธิ นั่งกัมมัฏฐานอย่างจริงจัง ตามประวัติและหลักฐานที่ปรากฏท่านแบกกลดท่องธุดงค์และเทศนาธรรมเผยแผ่พระพุทธศาสนาถึงดินแดนใต้สุดเมืองสยามตลอดจนประเทศมาเลเซีย
โดยพำนักปักกลดที่วัดพุทธาธิวาส อ.เบตง จ.ยะลา
ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสวนขัน ต.ละอาย อ.ฉวาง ในปี พ.ศ.2445
สร้างคุณาปการไว้กับพระพุทธศาสนามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ สร้างศรัทธาปสาทะแก่พุทธศาสนิกชนให้เลื่อมใส และเข้าใจ อีกทั้งสร้างปูชนียวัตถุ ปูชนียสถานที่สืบทอดพระศาสนาอยู่จนทุกวันนี้ คือ องค์พระธาตุเจดีย์ฯ พระพุทธรูปตามวัดต่างๆ รวมทั้งศาสนสถานมากมาย ตลอดจนถาวรวัตถุสิ่งต่างๆ มากมาย อาทิ โรงเรียน ถนนหนทาง ขุดคลอง สร้างสะพานมากมายหลายแห่ง

พ.ศ.2492 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ในราชทินนามที่พระครูพิศิษฐ์อรรถการ
พ.ศ.2500 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม
นอกจากนี้ ยังเป็นพระนักพัฒนา ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบและจะอ่อนน้อมถ่อมตนเสมอ พ.ศ.2475 ท่านเจ้าคุณพระศรีธรรมสาธน์ (เจ้าคุณพระรัตนธัชมุนี) ซึ่งเป็นพระราชาคณะได้นิมนต์ไปจำพรรษาและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดจันดี เนื่องจากวัดจันดี ไม่มีเจ้าอาวาสปกครอง
ในปี พ.ศ.2500 เนื่องจากมีการสร้างถนนผ่านกลางวัดจันดีหรือวัดทุ่งปอน ทำให้วัดถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ประชาชนได้ประชุมตกลงสร้างวัดใหม่ในเนื้อที่ที่แยกออกไป เรียกว่า วัดพระธาตุน้อย และแต่งตั้งให้พ่อท่านคล้าย เป็นเจ้าอาวาส
วาระสุดท้าย มรณภาพลงอย่างสงบ ณ ห้องหมายเลข 5 ตึกสุทธิสารรณกร โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เวลา 23.05 น. วันที่ 5 ธันวาคม 2513

ทุกวันนี้ สรีระสังขารพ่อท่านคล้าย ได้กลายเป็นหินและไม่เน่าเปื่อย ถูกบรรจุอยู่ในโลงแก้ว ให้คณะศิษย์จากทั่วสารทิศได้นมัสการ ภายในพระเจดีย์ฯ วัดพระธาตุน้อย ตลาดคลองจันดี

พระครูพิศิษฐ์อรรถการ หรือพ่อท่านคล้าย จันทสุวัณโณ ผู้มีวาจาสิทธิ์แห่งเมืองใต้ อดีตเจ้าอาวาสวัดสวนขัน และวัดพระธาตุน้อย อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช ชาวเมืองคอนให้ความเลื่อมใสศรัทธา และรู้จักชื่อเสียงของท่านเป็นอย่างดี
เกียรติคุณความแก่กล้าในวิทยาคม ยังได้รับการกล่าวขานจนถึงปัจจุบัน พระเครื่องและวัตถุมงคลที่ปลุกเสกไว้ ล้วนเป็นที่ปรารถนา มีหลายรุ่น ได้รับความนิยมสูง

พุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด มีโชคลาภ ปลอดภัย ผู้ใดได้บูชา บุญญา บารมี ความร่ำรวย ความั่งคั่ง ความก้าวหน้า ความเจริญทั้งปวง

พระองค์นี้เนื้อพระออกวรรณะเหลืองเป็นหลัก บางองค์ออกวรรณะเหลืองอมเขียว ผิวนอกมักออกวรรณะน้ำตาลอมดำ ขนาดองค์พระ กว้างประมาณ 2 ซม.เศษ สูงประมาณ 3 ซม. พระรุ่นนี้วงการพระเครื่องแบ่งออกเป็น 2 พิมพ์หลัก คือ พิมพ์ต้อ (นิยม) และ พิมพ์ชะลูด ซึ่งยังแบ่งย่อยๆ ออกไปอีกหลายพิมพ์ อาทิ พิมพ์ต้อหน้าใหญ่, พิมพ์ต้อหน้าเล็ก, พิมพ์ชะลูดหน้าแหงน ฯลฯ ปัจจุบันองค์ที่หล่อได้คมชัดสวยสมบูรณ์ มีราคาค่านิยมเกินกว่าหลักแสนแล้ว คาดว่าอนาคตอันใกล้ความนิยมจะสูงขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว รูปเหมือนหล่อโบราณ “พ่อท่านคล้าย” พิมพ์ต้อ (นิยม) องค์นี้จัดเป็น “พระแท้องค์ครู” องค์แรกเป็นพระที่หล่อออกมาแบบผิวเดิมๆ ไม่ผ่านการใช้มาก่อน ที่เรียกว่า “ผิวมะระ” ในร่องตัว “อุ”ปรากฏขี้เบ้าให้เห็นอย่างชัดเจน นับเป็น “พระแท้ดูง่าย” น่าเก็บสะสมเเละน่าใช้มาก

👉 สามารถเข้าชมพระเครื่องของทางร้านที่เวปท่าพระจันทร์ได้ทั้ง 5 ร้าน (มังกรพระเครื่อง ร้านที่ 1-5)
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง2
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง3
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง4
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง5

👉 สามารถเข้าชมพระเครื่องของทางร้านมังกรพระเครื่องทั้งหมด ได้ที่
▶️ : https://www.dragon1amulet.com

✅ โทรศัพท์ : 081-919-5885
✅ ID Line : ฺ rsp4884
✅ Facebook : เอก สงขลา

ทิ้งคำตอบไว้

อีเมล์ของคุณจะไม่ถูกเผยแพร่