พระเนื้อว่านชานหมากชุบรัก พ่อท่านคล้าย วัดวังตะวันออก ปี2502

ขายแล้ว

องค์ที่ 1 ;
พระเนื้อว่านชานหมากชุบรัก พ่อท่านคล้าย วัดวังตะวันออก ปี2502 จ.นครศรีธรรมราช

พระเนื้อว่านชานหมาก ชุบรัก พ่อท่านคล้าย ออกวัดวังตะวันตะออก ปี2502 (หลังเสมา)
สภาพสวยเดิมๆ พร้อมเลี่ยมทองเก่าๆ วัตถุมงคลดังกล่าวมีส่วนผสมของ ว่านวิเศษหลากหลายชนิด รวมถึงชานหมากของพ่อท่าน ปูนองค์พระบรมธาตุฯ ชิ้นส่วนพระกรุนางตรา ท่าเรือ
รวมถึงพระกรุเก่าแก่ของเมืองนครฯ สุดคำล่ำลือด้วยวิธีการแจกจ่ายให้ผู้ศรัธาไปบูชา เป็นพระเก่าในสายพ่อคล้ายที่น่าเก็บ น่าสะสมอีกรุ่น

พระครูพิศิษฐ์อรรถการ หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า “พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์” นามตามสมณศักดิ์ท่านคือ พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดสวนขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช
พ่อท่านคล้าย มีนามเดิมว่า “คล้าย สีนิล” เกิดตรงกับ วันที่ 27 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด จ.ศ.1238 ร.ศ.95 ที่บ้านโคกกระทือ หรือบ้านโคกทือ ตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอินทร์ นางเหนี่ยว สีนิล มีพี่สาว 1 คน ชื่อนางเพ็งเป็นภรรยานายซ้าย เพ็ชรฤทธิ์ ไม่มีบุตรสืบสกุลแต่มีบุตรบุญธรรมหนึ่งคน ชื่อนายครื้น เพ็ชรฤทธิ์

พ่อท่านคล้าย มีลักษณะนิสัย เป็นคนมีมานะอดทน ขยันหมั่นเพียร อยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของบิดามารดาและครูอาจารย์อย่างเคร่งครัด สุภาพ เรียบร้อย ว่านอนสอนง่าย นิสัยอ่อนโยนละมุนละไม จึงเป็นที่รักของบิดามารดา ครูอาจารย์และญาติมิตรเป็นอันมาก เมื่ออายุ 15ปี หลวงพ่อคล้ายประสบอุบัติเหตุในการถางป่าทำไร่กระดูกปลายเท้า สามนิ้วแตกละเอียด รักษาไม่หาย ด้วยกำลังใจที่เด็ดเดี่ยว พ่อท่านคล้ายได้ใช้มีดตัดปลายเท้าออกด้วยตัวเอง และใช้ยาพอกจนหายเป็นปกติ ขาของพ่อท่านคล้ายนั้นเสียข้างหนึ่ง คือ ขาด้านซ้ายขาดตั้งแต่ตาตุ่มลงไป (เสียตั้งแต่สมัยเด็กๆ โดนต้นไม้ทับที่บ้านญาติของท่านที่ จ.กระบี่ ขาเป็นหนองเลยต้องตัดทิ้ง โดยท่านใช้มีดปาดตาลตัดเอง) ท่านเลยต้องใส่กระบอกไม้ไผ่แทน

พ่อท่านคล้าย ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2438 (อายุ 19 ปี) บรรพชาที่วัดจันดี ต.หลักช้าง บรรพชาโดยอาจารย์ พระอธิการจัน เจ้าอาวาสวัดจันดี (ทุ่งปอน) และพ่อท่านสามารถท่อง พระปาฏิโมกข์จนได้แม่นยำ ครั้นอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ในปี พ.ศ.2439 ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ อุทกุกเขปสีมา (ศาลาน้ำ) วัดวังม่วง โดยมีพระอาจารย์กราย คังคสุ วัณโณ เจ้าอาวาสวัดหาดสูง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สังข์ สิริรตโน เจ้าอาวาสวัดไม้เรียง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ทอง ปทุมสุวัณโณ เจ้าอาวาสวัดวังม่วงเป็นพระอนุสาวนาจารย์ และมีพระอาจารย์ล้อม ถิรโชโต เป็นผู้ให้สรณคมน์และศีล ได้รับฉายาว่า ” จันทสุวัณโณ ” แล้วได้ไปจำพรรษา อยู่ที่วัดทุ่งปอน หรือวัดจันดี
การศึกษาเบื้องต้น พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เริ่มศึกษาเบื้องต้นที่บ้าน โดยบิดาเป็นผู้สอน เรียนวิชาคำนวณ และวิชาอักษรโบราณ จนสามารถอ่านออกเขียนชำนาญ ทั้งหนังสือไทยและหนังสือขอม ต่อมาศึกษาต่อในสำนักนายขำ ที่วัดทุ่งปอน บ้านโคกทือ จนจบหลักสูตร ต่อมาได้ไปฝึกหัดเล่นหนังตะลุงกับนายทองสาก ประกอบกับพ่อท่านคล้ายมีหน้าตาดี น้ำเสียงไพเราะ จึงมีคนติดใจการเล่นหนังตะลุงของท่านมาก ต่อมาปี พ.ศ.2441 พ่อท่านคล้าย ได้เข้าศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี เรียนมูลกัจจายนะ ในสำนักพระครูกาแก้ว (ศรี) ณ วัดหน้าพระธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จบหลักสูตรมูล พอแปลบาลีได้ ศึกษาอยู่เป็นเวลา 2 พรรษา

ปี พ.ศ.2443 ต่อมาได้ศึกษาทางวิปัสสนากัมมัฎฐานที่สำนักวัดสามพัน อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีอาจารย์หนูเจ้าอาวาสเป็นผู้สอน
ปี พ.ศ.2445 พ่อท่านคล้าย ได้กลับมาอยู่จำพรรษาวัดหาดสูง ใกล้ตลาดทานพอ ในสำนักพระครูกราย ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของพ่อท่าน เพื่อศึกษาวิปัสสนาและไสยศาสตร์ โดยเหตุที่พระครูกราย เป็นอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาและทรงวิชาคุณทางไสยศาสตร์ในสมัยนั้น
ปี พ.ศ.2447 พ่อท่านคล้าย ได้ไปจำพรรษาที่วัดมะขามเฒ่า อำเภอระโนด จังหวัดสงขลาเพื่อศึกษาภาลีและอภิธรรมเพิ่มเติม
ปีพ.ศ.2448 พ่อท่านกลับจากวัดมะขามเฒ่า มาจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งปอน (จันดี) ตลอดเวลาที่ท่านจำพรรษา ณ ที่ใดก็ตาม ท่านได้ศึกษาค้นคว้าภาษา บาลี วิชาโหราศาสตร์ และเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ติดต่อกันมาโดยมิได้ประมาท ด้านการก่อสร้างก็ได้สร้างใว้
ปี พ.ศ.2448 พระปลัดคง เจ้าอาวาสวัดสวนขัน ลาสิกขาบท คณะอุบาสกอุบาสิกาของวัดสวนขัน ได้ร่วนกันเสนอไปยัง ท่านพระครูกรายเจ้าคณะแขวงฉวาง ขอแต่งตั้ง”พ่อท่านคล้าย”เป็นเจ้าอาวาส วัดสวนขันแทน ท่านพระครูกรายก็เสนอไปยังเจ้าคณะเมือง (ม่วง เปรียญ) ครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณพระศิริธรรมมุนี เป็นเจ้าคณะเมือง ได้แต่งตั้งให้พ่อท่านคล้ายเป็นเจ้าอาวาสวัดสวนขันแต่นั้นมา
ปี 2475 เนื่องจากในปีนี้วัดจันดีว่างเจ้าอาวาส ท่านเจ้าคุณพระศรธรรรมประสาธน์(พระรัตนชัชมุนี)นิมนต์พ่อท่านไปจำพรรษาที่วัดจันดี พ่อท่านคล้ายสร้างกุฏิใหม่ ๑ หลังและสร้างถนนจากทางรถไฟไปสู่วัดจันดีด้วย
ปี 2492 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่พระครูพิศิษฐ์อรรถการ ต่อมาในปี2500 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นพิเศษในนามสมณศักดิ์เดิม แต่ประชาชนทั่วไปเรียกท่านตามชื่อเดิมว่า พ่อท่านคล้าย
ปี 2500 เป็นเจ้าอาวาสวัดจันดี (วัดธาตุน้อย) เนื่องจากมีการสร้างถนนผ่านกลางวัดจันดีหรือวัดทุ่งปอน ทำให้วัดถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ประชาชนได้ประชุมตกลงสร้างวัดใหม่ในเนื้อที่ที่แยกออกไป เรียกว่า วัดพระธาตุน้อย และแต่งตั้งให้พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นเจ้าอาวาส เมื่อท่านมรณภาพไปแล้ว วัดนี้ก็เป็นที่ประดิษฐานสรีระของท่านไว้ในโลงแก้ว

พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ เป็นผู้นำในการสร้างวัดพระเจดีย์ พระพุทธรูป และร่วมกันในการปฏิสังขรณ์บูรณะศาสนสถานเป็นจำนวนมาก ผลงานสำคัญ ดังเช่น สร้างวัด พ่อท่านคล้ายเห็นความสำคัญของปูชนียสถาน จึงได้สร้างวัดขึ้นหลายแห่ง ได้แก่ วัดมะปรางงาม ตำบลละอาย อำเภอฉวาง ใน พ.ศ. ๒๔๙๐ ต่อมา พ.ศ.2500 ทายาทอึ่งค่ายท่าย ถวายที่ดิน และวัดที่สำคัญที่สุดคือวัดพระธาตุน้อย หรือคนทั่วไปเรียกว่า วัดพ่อท่านคล้าย

พ่อท่านคล้ายจัดได้ว่าเป็นนักพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ตลอดชีวิต ทำงานโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ได้เดินทางไปพัฒนาในที่ต่าง ๆ มากมาย สร้างถนน สะพานมากมาย ด้วยเมตตาบารมีและความเคารพศรัทธาของศิษย์และประชาชน ดังเช่น
-สร้างถนนเข้าวัดจันดี
-ถนนจากตำบลละอายไปพิปูน
-ถนนจากวัดสวนขันไปยังสถานีรถไฟคลองจันดี
-ถนนจากตำบลละอายไปนาแว
-ถนนระหว่างหมู่บ้านในตำบลละอาย
-สะพานข้ามคลองคุดด้วนเข้าวัดสวนขัน
-สะพานข้ามแม่น้ำตาปีจากตลาดทานพอไปนาแว
-สะพานข้ามคลองเสหลา หน้าวัดมะปรางงาม
สะพานข้ามคลองจันดี เป็นต้น

ศิษยานุศิษย์และประชาชนที่เคารพนับถือ ศรัทธาพ่อท่านคล้ายได้เชื่อถือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวาจา พูดอย่างไรเป็นอย่างนั้น พ่อท่านคล้ายจะพูดจากับทุกคนด้วยใบหน้ายิ้มแย้มและแจ่มใสอารมณ์เยือกเย็นอยู่ตลอดเวลา ท่านมักจะให้พรกับทุกคน “ขอให้เป็นสุข เป็นสุข” ผู้ที่เคารพนับถือท่านต่างพากันกลัวคำตำหนิ เพราะผู้ที่ถูกตำหนิทุกรายล้วนแต่พบความวิบัติ คนส่วนมากจึงหวังที่จะได้รับคำอวยพร เพราะคำเหล่านั้นเป็นการพยากรณ์ที่แม่นยำทั้งในทางดีและทางเสื่อมเสีย คนที่ไปนมัสการ “พ่อท่านคล้าย” หวังที่จะได้วัตถุมงคล พระเครื่อง บ้างขอน้ำมนต์ ชานหมาก แหวน ผ้ายันต์ เหรียญ รูปหล่อ รูปพิมพ์ ซึ่งพ่อท่านคล้ายก็ได้มีเมตตาให้กับทุกคน ยิ่งชานหมากของท่านหากใครได้รับจากมือท่านเป็นต้องหวงแหนอย่างที่สุด

เมื่อครั้นถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2513 ตรงกับแรม 9ค่ำ เดือน12 ปีจอ พ่อท่านจะต้องเดินทางไปจังหวัดสุรินทร์ เนื่องในงานพุทธาภิเษกที่คณะพุทธบริษัท จังหวัดนั้นนิมนต์ใว้ เวลา 16.00 น. ของวันเดินทาง คณะศิษย์เป็นว่าพ่อท่านอาพาธกระทันหัน จึงนิมนต์พ่อท่านขึ้นรถด่วนเข้ากรุงเทพ ถึงวันรุ่งขึ้นได้นำพ่อท่านเข้าโรงพยาบาลพระมงกุฎในวันนั้น แพทย์ได้พยายามรักษาจนเต็มความสามารถ เป็นเวลา14วัน อาการมีแต่ทรงกับทรุด ครั้งถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2513 เวลา23.05 น. พ่อท่านคล้าย มรณะภาพด้วยอาการสงบ ณ ห้องหมายเลข 5 อาคารสุทธิสารรณกร สิริรวมอายุได้ 96 ปี เมื่อบำเพ็ญกุศลครบ 100วัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ถวายผ้าไตรหลวงจำนวน 25 ไตร โดยมี พล.ต.ต ชุมพล โลหะชาละ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เป็นผู้อัญเชิญผ้าไตรหลวงและบำเพ็ญกุศลถวายด้วย ปัจจุบันสรีระของพ่อท่านคล้ายได้แข็งกลายเป็นหิน บรรจุสรีระของท่านไว้ในโลงแก้ว ประดิษฐานอยู่ในองค์พระเจดีย์ในวัดพระธาตุน้อยจนถึงปัจจุบัน

👉 สามารถเข้าชมพระเครื่องของทางร้านที่เวปท่าพระจันทร์ได้ทั้ง 5 ร้าน (มังกรพระเครื่อง ร้านที่ 1-5)
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง2
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง3
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง4
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง5

👉 สามารถเข้าชมพระเครื่องของทางร้านมังกรพระเครื่องทั้งหมด ได้ที่
▶️ : https://www.dragon1amulet.com

✅ โทรศัพท์ : 081-919-5885
✅ ID Line : ฺ rsp4884
✅ Facebook : เอก สงขลา

ทิ้งคำตอบไว้

อีเมล์ของคุณจะไม่ถูกเผยแพร่